ความหมายของการประยุกต์
การประยุกต์ หมายถึง การนำ “บางสิ่ง” มาใช้ประโยชน์
โดยปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสภาวะที่เฉพาะเจาะจง
การประยุกต์เป็นวิธีการนำบางสิ่งมาใช้ประโยชน์ “บางสิ่ง” ที่นำมานั้น อาจเป็นทฤษฎี
หลักการ แนวคิด ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
และนำมาใช้ประโยชน์ในภาคปฏิบัติ โดยปรับให้เข้ากับบริบทแวดล้อมที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสม
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง
การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ
ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง
แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ
และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย
ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information
Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาทำให้สารสนเทศมีประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ
ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ
เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร
เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง
โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ
ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน
มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง
และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว
โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส
และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น
อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถปรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล
สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีทั้งระบบใหญ่และเล็ก อันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
ข้อมูลและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ท้าทายของทุกคนมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์กับงานต่าง
ๆ มากมายตามลักษณะของการใช้งานและประเภทของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์
ซึ่งในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
ได้แก่ ซีพียู เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ
2. ซอฟต์แวร์ (software) ได้แก่
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับควบคุม
ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
3. ข้อมูล (data) ได้แก่ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน
ข้อมูลนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์
4. บุคลากร (people ware) ได้แก่
บุคลากรที่ปฏิบัติงานระบบ (user)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
-ระบบเดี่ยว
-ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
-ระบบเดี่ยว
-ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
1.2 งานกระจายเอกสาร
เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ
1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศท์ และวีดิทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2.การการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบการผลิต
การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ
3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร
4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ และดาวเทียม เป็นต้น
สถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร
4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ และดาวเทียม เป็นต้น
5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน
ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System : HIS) นำมาใชในงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น
5.2 ระบบสาธารณสุข
นำมาใช้ในด้านการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System : HIS) นำมาใชในงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในกาสรวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา
6.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การสอนผ่านดาวเทียม(Direct ToHome : HTM) หรือการประชุมทางไกล(Vedio Teleconference)
6.1การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 6.2การศึกษาทางไกล มีหลายแบบ เช่น การเรียนการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ไปจนถึงระบบแพร่ภาพ
6.3เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และการใชบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
6.4การใช้งานห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว 6.5การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้งานร่วมกับอุกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง เป็นต้น
6.6การใชในงานประจำและบริหาร
เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน
การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผ้ปกครองหรือข้อมูลครู
ซึ่งทำให้อาจารย์สามารถติดตามและดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น